ประกาศสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เรื่อง รายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 มาตรา 31(1) และ(2)

 

“สภาเกษตรกร 4 จังหวัด นำร่องขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง(นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล) ”

“สภาเกษตรกร 4 จังหวัด นำร่องขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง(นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล) ”

                 วันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30 น. นายสมคิด  สงเนียม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง และนางสาวฐิมาภรณ์ ทองไซร้ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ภายใต้พื้นฐานผู้ประกอบการในระดับชุมชน ร่วมกับสภาเกษตรกร 3 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 2 คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ตามที่ สมาคมพืชกระกระท่อมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดพัทลุง  ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนจังหวัด พัทลุง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง และพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง ภายใต้ “โครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ภายใต้พื้นฐานผู้ประกอบการในระดับชุมชน” เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชกระท่อมอย่างเหมาะสม ในภาคใต้ตอนกลาง และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตและการสกัดสารสำคัญในพืชกระท่อม เพื่อใช้ในทางวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ,ร่วมกันขับเคลื่อนศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชกระท่อมอย่างเหมาะสมในภาคใต้ตอนกลาง และร่วมมือกันพัฒนาพืชกระท่อมเป็นเศรษฐกิจใหม่ในภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล)

ภาพ-ข่าว โดย ส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร

สนง.สภาเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564

 

ร่วมลงนามถวายพระพรได้ตามลิ้งค์นี้

เกษตรกรต้นแบบที่เข้าร่วมดำเนินงานกับสำนักงานฯ

นายบุญธรรม แสงทอง
บ้านเลขที่ 84/4 หมู่ที่ 11 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
รหัสไปรษณีย์ 93000 โทรศัพท์ 080-7062354

ได้รับประกาศนียบัตรและโล่ห์รางวัลชนะเลิศ ตามโครงการ ยกระดับความคิด ติดอาวุธทางปัญญา สร้างสัมมาชีพทั่วแผ่นดิน ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง สาขาเศรษฐกิจพอเพียง รับรางวัลจากนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. 2557

 

 

 

ระดับการศึกษา
จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรกรรม ในอดีตได้ทำงานในโครงการฟาร์มตัวอย่างบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และโครงการฟาร์มตัวอย่างหอยโข่ง ตำบลคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน ทำงานประจำตำแหน่ง พนักงานประจำห้องทดลอง ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง แต่เนื่องจากมีรายได้น้อย จึงหันมาทำการเกษตรควบคู่กับงานประจำด้วย

แนวคิดด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาด้านพื้นฐานโดยการดำเนินชีวิตตามทางสายกลางมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพึ่งตนเองเป็นหลัก  ต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนด้วยความรอบคอบ และระมัดระวัง  พิจารณาถึงความเหมาะสมพอดี มีเหตุผลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกมิติของการดำเนินชีวิต

การดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร
-ได้รับการรับรอง พืช GAP จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ด้านประมง เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 1 บ่อ จำนวน 500 ตัว
ด้านการปลูกพืช ปลูกแก้วมังกร 3 แปลง 3 สายพันธุ์ จำนวน 6 ไร่ 505 หลัก
ปลูกมะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร1 จำนวน 4 ไร่ จำนวน 170 ต้น
ปลูกยางพารา จำนวน 3 ไร่
ปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภค
ทำนา จำนวน 2 ไร่
ด้านปศุสัตว์
ไก่ไข่ จำนวน 15 ตัว
โคพื้นเมือง จำนวน 2 ตัว
ด้านสิ่งแวดล้อม
ใช้มูลโค ไก่ ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
กิจกรรมเผยแพร่ความรู้
วิทยากรให้ความรู้นักศึกษาระดับ ปวช. และปวส.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
เป็นแหล่งศึกษาดูงานแก่นักเรียนนักศึกษาในเขต หมู่บ้าน

 

นายอำมร  สุขวิน บ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000 โทรศัพท์ 089-4641187

ได้รับประกาศนียบัตรและโล่ห์รางวัลชนะเลิศ ตามโครงการ ยกระดับความคิด ติดอาวุธทางปัญญา สร้างสัมมาชีพทั่วแผ่นดิน ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง สาขาผู้นำชุมชนและเครือข่าย รับรางวัลจากนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. 2557

 

 

 

 

ระดับการศึกษา

มัธยมศึกษา ปีที่ 6

แนวคิดด้านการพึ่งตนเองในเรื่องปัจจัยการผลิต  ลด ละเลิกสารเคมี  ใช้ข้อมูลพิจารณาในการดำเนินชีวิต  มีความมั่นใจ  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้  เกษตรผสมผสาน  ดำรงชีวิตพอเพียง

การดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร
1.ทำนาเกษตรอินทรีย์
2.ปลูกผัก
3.เลี้ยงสัตว์
4.สวนผสมผสาน
5.การขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกร

 

 

นายนัน ชูเอียด บ้านเลขที่ 150 บ้านในกอย หมู่ที่ 9 ตำบลหนองธง  อำเภอป่าบอน  จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์มือถือ 087-8377042

ริเริ่มจากการศึกษาหาความรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน เพื่อเป็นแนวทางที่สามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องมีใจรักทางการเกษตร ขยัน อดทน สู้งานและดูแลเอาใจใส่ตลอดจนต้องเป็นนักพัฒนาการเกษตรที่มีรายได้ประจำวัน ประจำเดือน และประจำปี ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรท่านอื่นที่สนในได้เป็นอย่างดี

ระดับการศึกษา

จบ ป.4 โรงเรียนวัดนาโอ่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และจบ ป.6 จาก การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอป่าบอน  จังหวัดพัทลุง

เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พยายามที่จะศึกษาเรียนรู้จากที่อื่นอยู่ตลอด เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าแก่ตนเองและผู้อื่น โดยจะนำหลักและความรู้ที่ศึกษากลับไปปฏิบัติให้เห็นผลจนสำเร็จ เพราะสามารถเป็นช่องทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆให้กับเกษตรกรที่สนใจและพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี

การดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร

การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน, การเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้น, การผลิตน้ำส้มควันไม้, เทคนิคการเพิ่มแรงดันน้ำในแปลงปลุกพืช, การผลิตเครื่องให้ปุ๋ยทางน้ำ, เทคนิคและวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากทางสละ

 

 

 

 

ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดพัทลุง

ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดพัทลุง

ความเป็นมา

ชื่อพัทลุง ในสมัยก่อนไม่ได้เขียนอย่างที่ปรากฏให้เห็น จากหลักฐานบนเหรียญอีแปะพัทลุง พ.ศ.2426 เขียนว่า พัททะลุง และพัตะลุง ในเอกสารของไทยใช้ต่างกันมากมาย ได้แก่ พะลุง พัดทลุง พัทธลุง พัฒลุง พัทลุง ความหมายของชื่อเมือง หมายถึง เมืองช้างหรือเมืองเกี่ยวเนื่องด้วยช้าง ซึ่งตรงกับข้าเท็จจริงหลายประการ คำว่า “พัด-ท-พัทธ” ยังไม่อาจทราบได้ว่าคำเดิมเขียนอย่างไร ทราบเพียงว่าเป็นคำขึ้นต้น ส่วนคำพื้นที่เมืองที่เรียกว่า “ตะลุง” แปลว่า เสาล่ามช้าง หรือไม่หลักผูกช้าง ชื่อบ้านนามเมืองของพัทลุงที่เกี่ยวกับช้างมีมาก หรือจะเรียกว่าเป็น “เมืองช้าง” ก็ได้ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาในแถบชะรัด ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด มีช้างป่าชุกชุม และในตำนานนางเลือดขาว ตำนานเมืองพัทลุงกล่าวว่า ตาสามโม ยายเพชร เป็นหมอดำ หมอเฒ่า นายกองช้างเลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรุงทองทุกปี ต่อมาพระกุมารกับนางเลือดขาวได้รับมรดกเป็นนายกองเลี้ยงช้างส่งส่วย ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านบางส่วนยังคงนับถือ “ตาหมอช้าง”
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงโปรดเกล้าให้มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๓๗ และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง ๗ ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสะดวกในการติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่ที่เคยเป็นเมืองที่ตั้งเมืองพัทลุงได้แก่
๑. โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ ๔ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน
๒. บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ ๑ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง
๓. เขาชัยบุรี (เขาเมืองฯ) ปัจจุบัน คือ ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง
๔. ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ต.ท่าเสม็ด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
๕. เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ ๑ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
๖. บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ ๒ ต.พญาขัน อ.เมืองพัทลุง
๗. บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ ๖ ต.พญาขัน อ.เมืองพัทลุง
๘. บ้านโคกลุง ปัจจุบัน หมู่ที่ ๔ ต.ลำปำ อ.เมืองพัทลุง

ด้านกายภาพ
ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิบดาเหนือ ถึง 7 องศา 53 ลิบดาเหนือ และลองติจูดที่ 99 องศา 44 ลิบดาตะวันออก ถึง 100 องศา 26 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถยนต์ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวง (หมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟเป็นระยะทางประมาณ
846 กิโลเมตร
ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นน่านน้ำติดต่อกับ อำเภอระโนดอำเภอกระแสสินธ์ อำเภอสะทิงพระ อำเภอสิงหนคร
จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นแนวติดต่อกับ อำเภอนาโยง อำเภอย่านตาขาวอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นภูเขาและที่ราบสูงทางด้านทิศตะวันตกประกอบด้วยเทือกเขาบรรทัด ถัดมาทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบสลับที่ดอน และเป็นพื้นที่ราบลุ่มจดทะเลสาบสงขลา พื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3,424 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ เป็นพื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่ เป็นพื้นที่ทางเกษตร 1,327,270 ไร่ (62%) พื้นที่ป่า 384,438 ไร่ (18%) และพื้นที่อื่นๆ 428,588 ไร่ (20%)

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดพัทลุงมีลมมรสุม คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยทั่วไปในปีหนึ่งๆ จะมีเพียง 2 ฤดู เท่านั้นคือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม – กลางเดือนกันยายน ความร้อนและความอบอ้าวของอากาศมีสูงสุด ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 29.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 27.0 องศาเซลเซียส โดยในช่วง 10 ปี จังหวัดพัทลุงมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 27-29 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายน – กลางเดือนมีนาคม โดยปริมาณฝนสูงสุดในรอบปี 2551 – 2554 คือ ในปี 2554 มีปริมาณน้ำฝน 3,187.1 มิลลิเมตร วันฝนตก จำนวน 183 วัน
ปริมาณน้ำฝนมีฝนเฉลี่ยทั้งปีในช่วง 10 ปี 2,052.1 มิลลิเมตร

ด้านการปกครองและประชากร
จังหวัดพัทลุง มีรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน 3 รูปแบบ คือ
1. การบริหารราชการส่วนกลาง ซึ่งมีที่ตั้งในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จำนวน 81 ส่วนราชการ
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการออกเป็น
2 ระดับ
– ระดับจังหวัด จำนวน 31 ส่วนราชการ 14 รัฐวิสาหกิจ
– ระดับอำเภอ ประกอบด้วย 11 อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 47 เทศบาลตำบล และ 25 องค์การบริหารส่วนตำบล

ด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง โครงสร้างส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการเกษตรกรรมเป็นหลัก รองลงมาได้แก่สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และสาขาอุตสาหกรรม โดยมีสัดส่วนตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2555 คิดเป็นร้อยละ 55.28 16.87 และ 15.90 ตามลำดับ รายได้หลักของจังหวัดพัทลุงมาจากภาคการเกษตร สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา สุกร และข้าว โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP) ณ ราคาประจำปี พ.ศ.2555 เท่ากับ 34,684 ล้านบาท และรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยของประชากรเท่ากับ 70,764 บาท เป็นลำดับที่ 14 ของภาคใต้ (ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ด้านการเกษตร
1. ข้าวนาปี
ข้าวนาปี เป็นพืชหนึ่งที่สร้างมูลค่าให้กับจังหวัดพัทลุงนอกเหนือจากยางพารา มีรอบการผลิตเหลื่อมปีคือเริ่มปลูกข้าวนาปีในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงเดือนปลายเดือนธันวาคม และเริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พันธุ์ข้าวส่งเสริมที่ปลูก ได้แก่ เล็บนก ชัยนาท เฉี้ยงพัทลุง สังข์หยด
หอมประทุม และสุพรรณบุรี ข้าวนาปี จังหวัดพัทลุงมีระยะเวลาตั้งแต่การปลูกถึงเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน – 28 กุมภาพันธ์
พื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดพัทลุงปีการเพาะปลูก 2555/56 พื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 145,051 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา 57,107 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 28.24

2. ข้าวนาปรัง
ข้าวนาปรัง หรือข้าวนอกฤดูหรือข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ฤดูกาลปลูกข้าวนาปรังในจังหวัดพัทลุง เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน พันธุ์ข้าวที่นิยมนำมาปลูกในช่วงนาปรัง ได้แก่ ชัยนาท หอมประทุม สุพรรณบุรี

ด้านปศุสัตว์
โคเนื้อ
โคเนื้อมีปริมาณการเลี้ยง 77,557 ตัว ลดลงจากปีที่ผ่านมา 6,636 ตัว หรือลดลงร้อยละ 7.88 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงลดลงจากปีที่ผ่านมา 1,842 ราย หรือลดลงร้อยละ 8.33 เมื่อพิจารณารายอำเภอ พบว่า ปริมาณการเลี้ยงโคเนื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ เมืองพัทลุง 19,773 ตัว รองลงมาควนขนุน 16,983 ตัว และปากพะยูน 9,145 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 59.18 ส่วนอำเภอที่มีการเลี้ยงน้อยที่สุดได้แก่ อำเภอตะโหมด 2,077 ตัว
โคนม
โคนมในปี 2556 มีปริมาณการเลี้ยง 3,015 ตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 845 ตัว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.94 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 11 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.18 เมื่อพิจารณารายอำเภอ พบว่า ปริมาณการเลี้ยงโคนม 3 อันดับแรก ได้แก่ เมืองพัทลุง 1,973 ตัว รองลงมาป่าพะยอม 620 ตัว และควนขนุน 230 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 93.63 สำหรับอำเภอที่ไม่มีการเลี้ยงโคนม ได้แก่ กงหรา ปากพะยูน ป่าบอน บางแก้ว และศรีนครินทร์
สุกร
สุกรในปี 2556 มีปริมาณการเลี้ยง 327,154 ตัว ลดลงจากปีที่ผ่านมา 34,824 ตัว หรือลดลงร้อยละ 9.62 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงลดลงจากปีที่ผ่านมา 833 ราย หรือลดลงร้อยละ 12.30 เมื่อพิจารณารายอำเภอพบว่า ปริมาณการเลี้ยงสุกรมาก 3 อันดับแรก ได้แก่
ควนขนุน 111,936 ตัว รองลงมาเมืองพัทลุง 60,464 ตัว และป่าบอน 36,717 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 63.92 สำหรับอำเภอที่มีการเลี้ยงน้อยที่สุด ได้แก่อำเภอบางแก้ว 4,885 ตัว
ไก่เนื้อ
ไก่เนื้อในปี 2556 มีปริมาณการเลี้ยง 2,235,581 ตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 65,722 ตัว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.02 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงลดลงจากปีที่ผ่านมา 106 ราย หรือลดลงร้อยละ 12.66 เมื่อพิจารณารายอำเภอพบว่า ปริมาณการเลี้ยงไก่เนื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ ตะโหมด 421,688 ตัว รองลงมาเมืองพัทลุง 401,727 ตัว และศรีนครินทร์ 400,805 ตัว ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 54.76 สำหรับอำเภอที่มีการเลี้ยงน้อยที่สุด ได้แก่อำเภอบางแก้ว 238 ตัว

ด้านสังคม

ด้านคุณภาพชีวิต
ข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์ จปฐ. จังหวัดพัทลุง ในปี 2554 ใช้เกณฑ์รายได้ 23000 บาท/คน/ปี ใช้เกณฑ์รายได้ 30000 บาท/คน/ปี จากการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในปี 2556 จำนวน 669 หมู่บ้าน มีรายได้เฉลี่ย 67109 บาทต่อคนต่อปี และมีครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. คงเหลือ จำนวน 50 ครัวเรือน
จังหวัดได้ดำเนินงานโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ โดยมีครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์รายได้ ปี 2555 จำนวน 144 ครัวเรือน และสามารถลดจำนวนครัวเรือนยากจนได้ จำนวน 94 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 65.28 คงเหลือในปี 2556 จำนวน 50 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนเดิมตกซ้ำ 15 ครัวเรือน และครัวเรือนใหม่ 35 ครัวเรือน

การสังคมสงเคราะห์
จังหวัดพัทลุงมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์หลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 34 จังหวัดพัทลุง, เหล่ากาชาดจังหวัดพัทลุง, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

การศาสนา
จังหวัดพัทลุงมีวัดในพุทธศาสนา ๒๓๘ วัด สำนักสงฆ์ ๗ แห่ง ที่พักสงฆ์ ๑๙ แห่ง มัสยิด ๙๒ แห่ง โบสถ์คริสต์ ๖ แห่ง
พุทธ จำนวน ๔๔๗,๗๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๐๑
อิสลาม จำนวน ๖๐,๗๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๐๘
อื่นๆ จำนวน ๒๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๕๓

ด้านแรงงาน
จังหวัดพัทลุงมีประชากรเฉลี่ยทั้งสิ้น 5๘๓,๒๖๐คน โดยสัดส่วนของประชากรเพศชายมีน้อยกว่าเพศหญิง กล่าวคือ เพศชาย มีจำนวน
28๗,๙๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๓๖ ขณะที่เพศหญิงมี 2๙๕,๓๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๖๔ โดยประชากรทั้งหมดพบว่าเป็นผู้อยู่ในวัยทำงานอายุ 15 ปี ขึ้นไป มีจำนวน 4๕๖,๗๘๗ คน หรือคิดเป็นร้อยละ 7๘.๓๒ ขณะที่ผู้มีอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 126,๔๗๓ คน (ร้อยละ 2๑.๖๘ )

ด้านการศึกษา
จังหวัดพัทลุงมีการจัดการศึกษาหลายระดับ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และระดับอุดมศึกษา โดยมีสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา(ส่วนแยก) วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง วิทยาลัยการอาชีพบางแก้ว วิทยาลัยเทคนิคป่าพะยอม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง จังหวัดพัทลุงจะมีการศึกษาในระบบแล้ว ยังมีการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีศูนย์การศึกษาประจำอำเภอ (กศน.ประจำอำเภอ) จำนวน 11 อำเภอ และมีศูนย์การศึกษาประจำตำบล (กศน.ประจำตำบล) จำนวน 65 แห่ง มีห้องสมุดประจำอำเภอ 12 แห่ง แยกเป็น ห้องสมุดประจำอำเภอ 10 อำเภอ ห้องสมุดประจำจังหวัด 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองพัทลุง ห้องสมุดเฉลิม-พระเกียรติ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่
ณ อำเภอศรีนครินทร์

ด้านสาธารณสุข
ด้านสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง มีสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบด้วย
๑. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
๑) โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด ๔๔๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
๒) โรงพยาบาลชุมชน ขนาด ๙๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
๓) โรงพยาบาลชุมชน ขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๘ แห่ง
๔) จำนวนเตียงรวมทั้งจังหวัด ๘๐๐ เตียง
๕) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑๒๔ แห่ง

๒. สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน ดังนี้
๑) สถานบริการสาธารณสุข (ขึ้นทะเบียนสาขาเวชกรรมชั้น ๑ มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน) จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลปิยะรักษ์
๒) เวชกรรม ชั้น ๑ ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน จำนวน ๔๒ แห่ง
๓) การพยาบาลและผดุงครรภ์ จำนวน ๕๘แห่ง (ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน)
๔) เวชกรรมแผนโบราณ จำนวน ๓ แห่ง (ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน)
๕) ทันตกรรม จำนวน ๑๙ แห่ง
๖) เทคนิคการแพทย์ จำนวน ๕ แห่ง
๗) สหคลินิก จำนวน ๔ แห่ง
๘) กายภาพบำบัด จำนวน ๑ แห่ง
๓. บุคลากรด้านสาธารณสุข (สาขาหลัก) รวมทั้งสิ้น ๑,๒๑๐ คน

คมนาคม
การคมนาคมสะดวก เพราะตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคใต้ (กึ่งกลางระหว่างจังหวัดชุมพร-นราธิวาส) เป็นศูนย์รวมของการคมนาคมทางบก จากภาคใต้ตอนบน (ฝั่งอ่าวไทย) และภาคตะวันตก (ฝั่งอันดามัน) ลงสู่ภาคใต้ตอนล่างและภาคใต้ชายแดน โดยใช้เส้นทางสายเพชรเกษม (หมายเลข 4) ระหว่างสี่แยกเอเชียอำเภอเมือง (จ.พัทลุง) – อำเภอหาดใหญ่ (จ.สงขลา) มีทางรถไฟผ่านหลายๆอำเภอจากเหนือจรดใต้ การเดินทางโดยเครื่องบินสะดวก รวดเร็ว (ระยะทางจากจังหวัดพัทลุง ถึงสนามบินตรัง 70 กม. สนามบินหาดใหญ่ 100 กม. สนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราช 100 กม.)
แหล่งน้ำชลประทาน พื้นที่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดพัทลุงติดต่อกับเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นแหล่ง กำเนิดของต้นน้ำลำธาร สายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาหลายสาย ทำให้สามารถใช้แหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้มาพัฒนาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น การก่อสร้างระบบชลประทาน มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 667,288ไร่
โครงการชลประทานขนาดใหญ่ 1 โครงการ คือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว พื้นที่ได้รับประโยชน์จำนวน 103,300 ไร่
โครงการชลประทานขนาดกลาง 11 โครงการ ในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 250,900 ไร่
โครงการชลประทานขนาดเล็ก 260 โครงการ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 380,853 ไร่
โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า(ที่อยู่ในความรับผิดชอบ/รวมทั้งในความดูแลของท้องถิ่น) 23 โครงการ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 60,821 ไร่

ทรัพยากรสัตว์ป่า
จังหวัดพัทลุงพบสัตว์ป่าที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ ประเภทสมเสร็จ เก้งหม้อ เลียงผาหรือกูรำ ค่างดำ นกเงือก เสือปลาหรือเสือไฟ หมี และโลมาอิรวดี โดยพบเพียงจำนวนเล็กน้อยบริเวณเทือกเขาบรรทัด (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6, 2549)

ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ป่าชายเลน แหล่งที่พบ บริเวณพื้นที่ทะเลน้อยและรอบทะเลสาบสงขลา มีเนื้อที่ 97.21 ตารางกิโลเมตร หรือ 60,756.25 ไร่
2. หญ้าทะเล มีการกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้าง อยู่ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 80 – 100 เมตร และเป็นบริเวณที่ปลาชุกชุมมีการปักหอย และเลี้ยงปลาในกระชัง แหล่งที่พบ บริเวณเกาะยวน ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน

ความหลากหลายทางชีวภาพ
จังหวัดพัทลุง มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยาป่าบก และความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศวิทยา ป่าพรุและทะเลสาบ ที่มีส่วนสนับสนุนหรือก่อเกิดภูมิปัญญาชาวบ้าน และผลิตภัณฑ์ชุมชนของคนพัทลุง ได้แก่
1) อุทยานแห่งชาติเขาปู่ เขาย่า ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง ในพื้นที่ ตำบลชุมพล ลำสินธุ์และบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ ตำบลตะแพนและเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต ตำบลเกาะเต่าและลานข่อย อำเภอป่าพะยอม ตำบลกงหรา ชะรัดและคลองทรายขาว อำเภอกงหรา ห่างจากจังหวัดพัทลุง 37 กิโลเมตร โดยได้ประกาศให้พื้นที่เป็น “อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า” เมื่อปี 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 42 ของประเทศไทย
2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้มีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2517 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2518 นับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย อาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ บางส่วนของตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ตำบลบ้านขาว ตำบลเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตำบลขอนหาด ตำบลนางหลง ตำบลเสม็ด ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 457 ตารางกิโลเมตรหรือ 285,625 ไร่ (พื้นดิน 429 ตร.กม. ประมาณ 268,125 ไร่ และพื้นน้ำ 28 ตร.กม. ประมาณ 17,500 ไร่) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสมบูรณ์ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณพรุควนขี้เสียน ได้รับการจดทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือแรมซาร์ไซต์ แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 110 ของโลก
3) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
เป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ ตั้งอยู่ที่บ้านนาวง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) จากจังหวัดพัทลุง-จังหวัดตรัง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง ประมาณ 27 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดตรัง ประมาณ 31 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาว ประกอบด้วยภูเขาสูงหลายลูกสลับ ซับซ้อนเรียงกันเป็นแนว ยอดเขาที่สำคัญคือ เขาหลัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมกันเป็นทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ พัทลุง ตรัง สตูล และสงขลา ชนิดป่าและพรรณไม้ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น ประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน พรรณไม้ที่มีค่าและสำคัญของพื้นที่ ได้แก่ ไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ตะเคียนต่าง ๆ ไข่เขียว ขานาง ฯลฯ นอกจากป่าดิบชื้นแล้วยังประกอบด้วยป่าดิบเขาซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของพื้นที่ พื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด เป็นป่าดงดิบชื้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุม ทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก เช่น นกเงือก นกกาฮัง นกหว้า เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวาง เสือ สมเสร็จ กระจง เลียงผา เม่น เก้ง ชะนี ลิง ค่าง บ่าง กระรอก ฯลฯ และสัตว์เลื้อยคลาน