การดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด ตามพรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ 2553#สภาเกษตรฯพัทลุง

สภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ  ในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข้มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆ

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2567 #สภาเกษตรฯพัทลุง

สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมจัดโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ กับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ “ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา” ของสภาเกษตรกรทั้ง 77 จังหวัด เป้าหมายจำนวน 9,999,999 ต้น เป็นระยะเวลา 10 ปี

โดยในปี พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา        สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จึงร่วมจัดทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2567 ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จำนวน 1,999 ต้น   ณ บริเวณริมห้วยโคกม่วง จากสะพานควนล้อน-หารขุนเมือง พื้นที่หมู่ที่ 3 ถึงหมู่ที่12   และจุดชมวิวควนเลียบ ป่าชุมชนบ้านทุ่งเคียน หมู่ที่ 13 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ซึ่ง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ได้ดำเนินการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – 2566 รวมต้นไม้ที่ปลูกภายใต้โครงการฯ แล้วทั้งสิ้น 49,296ต้น ซึ่งเป็นการปลูกในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ วัด โรงเรียน มัสยิด ส่งเสริมผ่านโครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ และส่งเสริมผ่านเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง โดยปลูกในพื้นที่ทางการเกษตรของตนเอง สามารถสร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรได้ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาดินที่อุดมสมบูรณ์ในแปลงเกษตร เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดและส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศในภาพรวม และสามารถสร้างจิตสำนึกรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นได้

 

“เกษตรกรที่ปลูกพืชกระท่อมมีเฮ……..พืชกระท่อมไทยสู่ตลาดโลก”

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในการประชุมหารือ “แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชกระท่อมสำหรับเป็นพืชทางเลือกในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร” โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ อาทิ ผู้อำนวยการกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาคมพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย และและสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช

โดยที่ประชุมได้หารือถึง ความก้าวหน้าของโครงการขยายพันธุ์พืชกระท่อม 25 ล้านต้น เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผ่าน (KT Bank) การดำเนินโครงการฯ ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสมาคมพืชกระท่อมฯ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพืชกระท่อม ความก้าวหน้ากฎหมายพืชกระท่อม และข้อปฏิบัติของเกษตรกรและหน่วยงานราชการ กฎหมายที่เกี่ยวกับการแปรรูปกระท่อม และข้อปฏิบัติของผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการ

และได้ร่วมพิจารณา แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการปลูกพืชกระท่อม เพื่อสนับสนุนโครงการฯ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การปลูกกระท่อมเป็นพืชร่วมยางเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับกระท่อม (พื้นที่เหมาะสม การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ฯลฯ) การส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร และมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) การจัดทำข้อตกลงตามระบบเกษตรพันธสัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ การส่งเสริมการตลาดกระท่อมทั้งใน – ต่างประเทศ รวมถึงการส่งเสริมการผลิต การตลาด และการแปรรูป

ซึ่งเบื้องต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการฯ และร่วมกันหารือแนวทางต่างๆ ในการส่งเสริมการปลูก การแปรรูป และการส่งออกพืชกระท่อมไทยไปตลาดโลก ทั้งนี้ นายโกศล ตาลทอง นายกสมาคมพืชกระท่อมแห่งประเทศไทย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกพืชกระท่อมโครงการนำร่อง จำนวน 1 แสนต้น ใน 4 จังหวัด (จังหวัดละ 1 แสนต้น) ได้แก่ พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล ภายใต้ศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมภาคใต้ตอนกลางเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานรากภายใต้พื้นฐานผู้ประกอบการในระดับชุมชน โดยมีหน่วยงานภาคีความร่วมได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง พัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล

ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมภาคใต้ตอนกลางฯ มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมมือกับ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยทั้งสองมหาวิทยาลัยจะช่วยสนับสนุนในการขับเคลื่อน ทั้งนี้ศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมภาคใต้ตอนกลางฯ จะเป็นแหล่งตรวจหาสารโลหะหนักตกค้างในผลผลิต วิจัยและส่งเสริมภูมิปัญญาการใช้พืชกระท่อม และเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตพืชกระท่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง เพื่อแปรรูปเป็นวัตถุดิบในรูปของใบแห้งและผง ส่วนศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ จะทำการวิจัยนวัตกรรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากพืชกระท่อม ตรวจหาสารสำคัญในพืชกระท่อม และแปรรูปเป็นวัตถุดิบในของรูปของสารสกัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ด้วยพืชกระท่อมไทยสู่ตลาดโลก

“สภาเกษตรกร 4 จังหวัด นำร่องขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง(นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล) ”

“สภาเกษตรกร 4 จังหวัด นำร่องขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง(นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล) ”

                 วันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30 น. นายสมคิด  สงเนียม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง และนางสาวฐิมาภรณ์ ทองไซร้ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ภายใต้พื้นฐานผู้ประกอบการในระดับชุมชน ร่วมกับสภาเกษตรกร 3 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 2 คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ตามที่ สมาคมพืชกระกระท่อมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดพัทลุง  ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนจังหวัด พัทลุง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง และพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง ภายใต้ “โครงการศูนย์พัฒนาพืชกระท่อมจีไอ (GI) ภาคใต้ตอนกลาง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ภายใต้พื้นฐานผู้ประกอบการในระดับชุมชน” เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชกระท่อมอย่างเหมาะสม ในภาคใต้ตอนกลาง และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตและการสกัดสารสำคัญในพืชกระท่อม เพื่อใช้ในทางวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ,ร่วมกันขับเคลื่อนศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชกระท่อมอย่างเหมาะสมในภาคใต้ตอนกลาง และร่วมมือกันพัฒนาพืชกระท่อมเป็นเศรษฐกิจใหม่ในภาคใต้ตอนกลาง (นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสตูล)

ภาพ-ข่าว โดย ส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร

สนง.สภาเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง

1 2