🍄กิจกรรมสร้างองค์ความรู้การผลิตและการใช้เห็ดสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืช🍄

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้การผลิตและการใช้เห็ดสิรินรัศมีในการควบคุมโรคพืช ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้สวนเกษตรทองคำพัทลุง หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
โดยบูรณาการร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง อบรมในเรื่องการผลิตและการใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการควบคุมโรครากปมของพืช และการผลิตและการใช้ประโยชน์จากน้ำเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เพื่อเป็นการสนับสนุน/ส่งเสริม การผลิตสินค้าทางการเกษตรแบบปลอดภัย และอินทรีย์ ให้แก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม ที่ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับทางสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

💡กิจกรรมการส่งเสริมองค์ความรู้ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร

วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมการส่งเสริมองค์ความรู้ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร ณ ศูนย์เรียนรู้คนเกษตรอินทรีย์ พัทลุง หมู่ที่ 11 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โดยนายนายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง เป็นประธานเปิดกิจกรรม
ซึ่งบูรณาการร่วมกับ สำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนไปปรับใช้หรือพัฒนาต่อยอดที่เหมาะสมในพื้นที่
มีการบรรยาย หัวข้อ “เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และแนวทางการเขียนโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์”
โดยวิทยากร นายสัญชัย เมืองแก้ว นักวิชาการพลังงานชำนาญการสำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง
บรรยาย หัวข้อ
1) ความรู้พื้นฐานระบบโซล่าเซลล์
2) อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์
3) การนำพลังงานโซล่าเซลล์มาใช้กับการเกษตร
โดยวิทยากร นายจิรัฐพล สอนทอง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ภายใต้การขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม

💡สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ภายใต้การขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม รับชมได้ที่ >>

โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2570 (ทบทวน 2567)
วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 น. สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ดำเนินโครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2670 (ทบทวน 2567 ) ณ ห้องประชุมโดม โรงแรมลำป้ารีสอร์ท ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
นำโดย…นายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นางสาวฐิมาภรณ์ ทองไซร้ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
♦️ดำเนินกิจกรรมโดย นายณัฐพงศ์ คงสง รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง คนที่ 2 บรรยายเรื่อง”แผน กับ การพัฒนาภาคการเกษตร”
♦️นายประสงค์ บุญจันทร์
หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตรดำเนินการรับฟังความคิดเห็น “ร่าง แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2570
(ทบทวน 2567)”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง เพื่อการสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ และนำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดบูรณาการเป็นแผนแม่บท เสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 11 หรือนำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลักดันไปสู่การบรรจุในแผนระดับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด โดยมีเครือข่ายผู้แทนสภาเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จำนวน 100 คน
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

💡กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรรายใหม่เข้าสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ภายใต้ โครงการพัทลุงเมืองเกษตรปลอดภัย

💡กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรรายใหม่เข้าสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ภายใต้ โครงการพัทลุงเมืองเกษตรปลอดภัย
🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒🫒
วันที่ 6-7 มิถุนายน 2567 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมบูรณาการกิจกรรมร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรรายใหม่เข้าสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ภายใต้ โครงการพัทลุงเมืองเกษตรปลอดภัย ซึ่งการอบรม 2 วันนี้ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้แก่เกษตรกรรายใหม่เข้าสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ปี 2567 จำนวน 7กลุ่ม ณ โรงแรมชัยคณาธานี จังหวัดพัทลุง
การขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง ในปี 2567 มีการขยายกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มขึ้น 7 กลุ่ม จำนวน 60 คน เพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกันของเครือข่าย การนำระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมเพื่อนำไปใช้จริง มีแนวทางในการจัดทำระบบ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ด้วยความร่วมมือของกลุ่ม/องค์กร ในการขับเคลื่อนร่วมกัน ได้รับการยกระดับความรู้ความเข้าใจ ร่วมกันกำหนดทิศทางของเกษตรอินทรีย์ จังหวัดพัทลุง
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2570 (ทบทวน 2567)

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 น. สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ดำเนินโครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2670 (ทบทวน 2567 ) ณ ห้องประชุมโดม โรงแรมลำป้ารีสอร์ท ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
นำโดย…นายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นางสาวฐิมาภรณ์ ทองไซร้ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
♦️ดำเนินกิจกรรมโดย นายณัฐพงศ์ คงสง รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง คนที่ 2 บรรยายเรื่อง”แผน กับ การพัฒนาภาคการเกษตร”
♦️นายประสงค์ บุญจันทร์
หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตรดำเนินการรับฟังความคิดเห็น “ร่าง แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566-2570
(ทบทวน 2567)”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดพัทลุง เพื่อการสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ และนำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดบูรณาการเป็นแผนแม่บท เสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 11 หรือนำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลักดันไปสู่การบรรจุในแผนระดับจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด โดยมีเครือข่ายผู้แทนสภาเกษตรกร สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จำนวน 100 คน
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

กิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมการสร้างความสัมพันธ์และศรัทธาในองค์กร วันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบ13 ปี

“20 พฤศจิกายน วันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบรอบ 13 ปี ”
📌📌📌📌📌📌📌📌📌📌
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงจัดทำกิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรม การสร้างความสัมพันธ์และศรัทธาในองค์กร เนื่องในวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติครบรอบ 13 ปี ประกอบด้วย
กิจกรรมดังต่อไปนี้
📍กิจกรรมที่ 1 นายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายเกษตรกร และบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมรับฟังสารจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สารจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติครบรอบ 13 ปี วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง
📍กิจกรรมที่ 2 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายเกษตรกร และบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีทางศาสนาทำบุญถวายภัตตาหารเพล และถวายสังฆทาน แด่ประสงค์ 5 รูป เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สำนักงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
📍กิจกรรมที่ 3 สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมมอบต้นไม้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ ณ วัดนางลาด ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน 999 ต้น
*ที่อยู่ ชุมชนบ้านท่ามิหรำ สี่แยกเอเชีย ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง
โทรศัพท์ 074 – 673 – 850

มวนพิฆาต กำจัดแมลงศัตรูพืชในกะหล่ำปลี #ลดสารเคมี #ดีต่อสุขภาพ #เกษตรอินทรีย์ #พัทลุง

 

มวนพิฆาตเป็นแมลงที่มีประโยชน์ทางการเกษตรเพราะเป็นตัวห้ำดูดกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร แมลงที่เป็นเหยื่อมักเป็นหนอน ผีเสื้อต่างๆ หรือตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งบางชนิด มวนพิฆาตมีวงจรชีวิตที่สั้นและเลี้ยงง่าย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุม แมลงศัตรูของพืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ และไม้ผลได้เป็นอย่างดี

การดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด ตามพรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ 2553#สภาเกษตรฯพัทลุง

สภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ  ในการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิต และการตลาดเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาสำหรับเกษตรกร ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างสมานฉันท์ ของเกษตรกรทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกร มีความเข้มแข็ง และมีการรวมตัวกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยสร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถจัดทำแผนแม่บท เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพปัญหาอันแท้จริง รวมทั้งให้เกษตรกรได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้ได้รับความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรรมด้านต่างๆ

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2567 #สภาเกษตรฯพัทลุง

สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ร่วมจัดโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ กับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ “ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา” ของสภาเกษตรกรทั้ง 77 จังหวัด เป้าหมายจำนวน 9,999,999 ต้น เป็นระยะเวลา 10 ปี

โดยในปี พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา        สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง จึงร่วมจัดทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2567 ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จำนวน 1,999 ต้น   ณ บริเวณริมห้วยโคกม่วง จากสะพานควนล้อน-หารขุนเมือง พื้นที่หมู่ที่ 3 ถึงหมู่ที่12   และจุดชมวิวควนเลียบ ป่าชุมชนบ้านทุ่งเคียน หมู่ที่ 13 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ซึ่ง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ได้ดำเนินการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – 2566 รวมต้นไม้ที่ปลูกภายใต้โครงการฯ แล้วทั้งสิ้น 49,296ต้น ซึ่งเป็นการปลูกในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ วัด โรงเรียน มัสยิด ส่งเสริมผ่านโครงการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ และส่งเสริมผ่านเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง โดยปลูกในพื้นที่ทางการเกษตรของตนเอง สามารถสร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรได้ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาดินที่อุดมสมบูรณ์ในแปลงเกษตร เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดและส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศในภาพรวม และสามารถสร้างจิตสำนึกรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นได้